จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

วิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองของโลก



คำว่า "การเมือง" และ "การปกครอง" มักจะใช้ควบคู่กันไปเสมอเพราะ "การเมือง"
หมายถึง งานที่เกี่ยวกับรัฐ การบริหารประเทศ การอำนวยหรือควบคุมการบริหารงานราชการ
แผ่นดิน ซึ่งเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการปกครองประเทศเป็นสำคัญ

ความหมายของการเมือง

อริสโตเติล : ได้กล่าวไว้ว่า การเมืองจะต้องมีลักษณะสำคัญบางประการ อาทิเช่น การเมือง
ย่อมเกี่ยวกันกับอำนาจและอำนาจทางการเมืองจะต้องแตกต่างจากอำนาจอื่น คือ องค์การ
ทางการเมืองจะต้องมีอำนาจปกครองเป็นอธิปัตย์ คุณลักษณะของการเมืองประกอบด้วย
ปัจจัยที่เด่นชัด สองประการ คือ อำนาจ และการปกครอง

โทมัส ฮอบส์ : มีความเห็นว่า การเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของมนุษย์ การเมือง
คือการต่อสู่เพื่อเถลิงอำนาจ

มอร์เกนเธอ : การเมืองเป็นเรื่องของการต่อสู้เพื่อการมีอำนาจ อันเป็นความต้องการของมนุษย์
ที่ต้องการมีอำนาจเหนือสิ่งอื่นใด

อาจสรุปได้ว่า การเมืองคือการแข่งขันของบุคคล หรือ กลุ่มบุคคลเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจใน
การปกครองรัฐ มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบาย การจัดการ ผลประโยชน์ของชาติ ซึ่งเป็นกิจ
กรรมที่มีผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่ในสังคมการเมืองเป็นเรื่องเกี่ยวพันกับอำนาจและการปกครอง
การดูแลจัดการให้มนุษย์อยู่กันอย่างเป็นระเบียบและเป็นธรรม การเมืองจึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ
ของการปกครอง

ความหมายของรัฐและองค์ประกอบของรัฐ

ซิเซโร : นักปราชญ์ชาวโรมันได้ให้คำนิยามว่า “ รัฐ คือกลุ่มคนจำนวนมากที่รวมกันอยู่โดยมี
ีความรู้สึกรับผิดชอบร่วมกัน”

แมกซ์ เวเบอร์ : นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน กล่าวว่า “ รัฐ คือ องค์การที่มีอำนาจผูกขาดใน
การใช้กำลังหรือใช้ความรุนแรงทั้งหลาย”

ฮาโรลด์ ลาส เวลล์ : นิยามว่า “รัฐ” คือกลุ่มคนที่รวมกันเป็นระเบียบและอาศัยอยู่ในอาณา
เขตร่วมกันมีอำนาจสูงสุดในอาณาเขตนั้น”

สรุปได้ว่า รัฐ คือ ชุมชนทางการเมืองที่มีบุคคลอาศัยอยู่อย่างถาวร ในดินแดนที่มี
อาณาเขตแน่นอน ภายใต้รัฐบาลเดียวกัน มีอำนาจสูงสุดในการปกครองอย่างเป็นอิสระ ปราศ
จากการควบคุมจากภายนอก

ชวนรถ...ลดโลกร้อน




นอกจากการรณรงค์ให้ใช้พลังงานอย่างถูกวิธีและประหยัดแล้ว การดูแลรถยนต์อย่างถูกต้อง ก็มีส่วนช่วยลดภาวะโลกร้อนได้เหมือนกันนะ อีกทั้งยังเป็นการลดปัญหาอากาศเป็นพิษและเสียงรบกวนที่ก่อนให้เกิดปัญหาสุขภาพ Lisa ขอชวนคุณมาร่วมด้วยช่วยกันลดมลพิษจากรถกันดีกว่า
การป้องกันและลดสารพิษจากรถยนต์

การทำงานของเครื่องยนต์ หากเกิดการเผาไหม้เชื้อเพลิงไม่สมบูรณ์ จะก่อให้เกิดสารพิษปล่อยออกมาจากท่อไอเสีย เรามีวิธีที่จะป้องกันมาแนะนำดังนี้

ใช้น้ำมันไร้สารตะกั่วสำหรับรถเครื่องยนต์เบนซิน หรือน้ำมันดีเซลกลั่นอุณหภูมิต่ำสำหรับรถเครื่องยนต์ดีเซล

เปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามกำหนดเวลา

หมั่นตรวจดูระบบกรองอากาศ ถ้าอุดตันมีฝุ่น นำมาทำความสะอาดหรือเปลี่ยนใหม่

หลีกเลี่ยงการบรรทุกเกินกำลังของรถ

ควรออกรถให้นิ่มนวลและไม่เร่งเครื่องเกินความจำเป็น

ควรติดตั้งอุปกรณ์กรองไอเสีย (Catalytic Converter) เพื่อช่วยให้ไอเสียที่ปล่อยออกมามีมลพิษน้อยลงได้
รถที่ใช้น้ำมันดีเซลควรตรวจสอบเครื่องยนต์เป็นพิเศษ ดังนี้

ตรวจสอบกำลังอัดของเครื่องยนต์ ถ้าต่ำกว่าปกติจะต้องซ่อมโดยเปลี่ยนแหวนลูกสูบ หรือคว้านกระบอกสูบ

ปรับแรงดันที่หัวฉีดให้ตรงตามกำหนด และหัวฉีดต้องฉีดน้ำมันเป็นละออง (ถ้าไม่ได้ ให้เปลี่ยนชุดหัวฉีดใหม่)

ตั้งปั๊มหัวฉีดที่มีความเร็วรอบต่างๆ ให้จ่ายตามกำหนด ถ้าลูกปั๊มสึกหรอจนปรับตั้งไม่ได้ให้เปลี่ยนใหม่

รถที่ใช้น้ำมันเบนซินควรตรวจสอบเครื่องยนต์เป็นพิเศษ ดังนี้

รถระบบคาร์บูเรเตอร์ โดยปกติจะปรับสกรูเดินเบาเพิ่มขึ้น ส่วนรถระบบหัวฉีดจะต้องปรับแต่งโดยช่างผู้ชำนาญงานเท่านั้น

ควรตรวจสอบกำลังอัดของเครื่องยนต์และระบบไฟจุดระเบิดอาจแก่เกินไป ควรลดลงให้เหมาะ

เท่านี้ก็คุณก็สามารถช่วยลดโลกร้อนได้แล้วค่ะ


การ์ตูนการเมือง (ทั้งฮา ทั้งเครียด)

ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา
นักเขียนการ์ตูนการเมืองของ เดอะโคเรียไทมส์
มีมุมมองทางการเมืองและสถานการณ์การชุมนุมในกรุงเทพฯ
ที่น่าจะไปในแนวทางเดียวกับสื่อหลายสำนักในทั่วทุกภูมิภาคของโลก
ที่คอยติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด
และผมคิดว่ามันก็เหมือนกับที่คนไทยเราได้เห็นและคิดเช่นกัน




ปัญหาการเมืองไทย

การเมืองเป็นเรื่องเกี่ยวกับรูปของรัฐและการจัดระเบียบความสัมพันธ์ภายในรัฐระหว่างผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง โดยเมื่อสังคมมนุษย์ยังมีความจำเป็นที่จะต้องมีรัฐบาล คนเราจึงต้องแบ่งออกเป็นสองพวกใหญ่ๆ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่บังคับกับผู้ถูกบังคับเสมอ

กลุ่มปัญหาที่เกิดทางการเมือง

กลุ่มแรก การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจ โดยเป็นการต่อสู่กันเพื่อใหได้มาซึ่งอำนาจและอิทธิพลในการบริหารกิจการบ้านเมือง

กลุ่มที่สอง การเมืองเป็นเรื่องของการจัดสรรทรัพยากรของรัฐหรือสิ่งที่มีคุณค่าทางสังคม

กลุ่มที่สาม การเมืองเป็นเรื่องของความขัดแย้ง ทั้งนี้เนื่องจากทรัพยากรของชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด ขณะที่ผู้คนซึ่งต้องการใช้ทรัพยากรนั้นมีอยู่มากและความต้องการใช้ไม่มีขีดจำกัด การเมืองจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการที่คนในสังคมไม่อาจตกลงกันได้หรือเกิดความขัดแย้งขึ้น

กลุ่มที่สี่ มองการเมืองว่าเป็นเรื่องของการประนีประนอมผลประโยชน์ เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้เกิดความขัดแย้งจากการดำเนินงานทางการเมืองที่ไม่มีทางออก

กลุ่มที่ห้า การเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับรัฐและการบริหารประเทศในกิจกรรมหลัก 3 ด้านคือ งานที่เกี่ยวกับรัฐ การบริหารประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับนโยบายและอำนาจการบริหารราชการแผนดินซึ่งเป็นการควบคุมให้มีการดำเนินงานตาม

กลุ่มที่หก การเมืองเป็นเรื่องของการกำหนดนโยบายของรัฐกล่าวคือ การเมืองคือกิจกรรมใดๆที่เกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย หน่วยงานและเครื่องมือต่างๆที่ใช้ในการกำหนดนโยบาย

ตัวอย่างความขัดแย้งทางการเมืองไทยในปัจจุบัน “ สถานการณ์ชายแดนภาคใต้” สถานการณ์ปัจจุบัน
การสำรวจปัญหาจากประชาชนในพื้นที่พบว่าจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส มีปัญหาที่สั่งสมกันมากมายหลายด้าน และมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อน บทความนี้ได้พยายามที่จะหาพยายามหลักฐานข้อมูลความรู้ที่น่าเชื่อถือจากเอกสาร ทัศนะ ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิรวมทั้งข้อสรุปจากการประชุมสัมมนาเท่าที่ค้นคว้ามาได้ เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจเข้าถึงสาเหตุที่เป็นแก่นแท้ของปัญหา ดังนี้

วัฒนธรรมการใช้อำนาจและลัทธิการพัฒนา: ปัญหาเดิมที่ดำรงอยู่
การรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในกรณีความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาภาคใต้อย่างยั่งยืนและเป็นธรรม เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2547 ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้มีข้อสรุปร่วมกันว่า เหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ เกิดจากปัญหาสำคัญ 3 ประการคือ
• ปัญหาวัฒนธรรมการใช้อำนาจกับดักประวัติศาสตร์
• ปัญหาในด้านลัทธิพัฒนา
• ปัญหาวัฒนธรรมการเรียนรู้
ชาติพันธ์ เอกลักษณ์และความเชื่อลัทธิทางศาสนาของคนกลุ่มใหม่ : พลวัตของปัญหาที่เปลี่ยนแปลงไปด้านชาติพันธ์ ด้านเอกลักษณ์ เรื่องชาติพันธ์เป็นปัญหาที่ปรากฏในรัฐไทยมาช้านาน รวมทั้งมีการกล่าวอ้างว่าปัญหานี้สามารถแก้ไข คลี่คลายได้ผ่านมาตรการ นโยบายรัฐด้านต่างๆ แต่กรณีย์กลุ่มชาติพันธ์ที่เป็นคนชายขอบที่มีความต่างทางด้างวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม ภาษา การแต่งกาย แม้กระทั่งศาสนาและมีความพยายามที่จะรักษาอัตลักษณ์ของกลุ่มตนเองเอาไว้ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มชนเผ่าต่างๆในภาคเหนือของประเทศไทย กลุ่มชาวมลายูมุสลิมในภาคใต้ รัฐไทย ระบบความรู้ของสังคมไทย ยังมองว่าเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขมากกว่าการที่จะยอมรับว่าเป็นความต่างเป็นความหลากหลายที่มีคุณประโยชน์ต่อสังคมส่วนร่วมและไม่ได้เป็นปัญหาต่อเอกภาพหรือความมั่นคงของประเทศ
ข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ไว้ 2 ประการคือ
1. ยึดรัฐธรรมนูญ ยอมรับความหลากหลาย
ข้อเสนอซึ่งเป็นผลการรับฟังความดิดเห็นจากประชาชนเพื่อแก้ไขปัญหาภาคใต้อย่างยั่งยืนและเป็นธรรม เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2547 ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีดังนี้
• การปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญอย่างจริงจัง
• ต้องเข้าใจและเคารพความหลากหลายของวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้• ปรับการบริหาร ของหน่วยงานรัฐให้ตรงกับสภาพวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน
• รัฐบาลและสังคมไทยต้องเข้าใจและให้ความสำคัญในเรื่องภาษามลายู วัฒนธรรมและการวิถีชีวิต ของคนมุสลิม เพราะถ้ารัฐบาลใช้นโยบายหรือบริหารประเทศที่ส่งผลกระทบกับการใช้ภาษา วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนมุสลิม จะเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ต่อไป รวมทั้งต้องเปิดโอกาส
• เปิดพื้นที่ให้คนในสังคมไทยเข้ามามีบทบาทในการลดการใช้อำนาจในทางมิชอบหรือป้องกันการเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในสังคมไทย

2. ใช้แนวทางสันติประชาธรรม
ในสถานการณ์ของความขัดแย้งระหว่างสิ่งที่เรียกว่าเป็นกระแสความคิด ความต้องการที่สุดโต่งทั้งสองด้าน ทั้งความคิดสุดโต่งด้านความมั่นคงซึ่งเป็นวัฒนธรรมทางการเมือง การปกครองมานาน และแนวทางสุดโต่งที่ปะทุขึ้นมาเพื่อตอบโต้รัฐในอีกด้านหนึ่ง ทางออกของปัญหาคือ การสร้างทางเลือกให้กับประชาชนคนสามัญ โดยการทำความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด ความต้องการ อุดมการณ์ ของประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งต้องการที่จะดำรงชีวิตร่วมกัน โดยปกติสุข มีการเคารพในสิทธิ เสรีภาพซึ่งกันและกัน ยอมรับในเอกลักษณ์กันและกัน โดยดำเนินการอย่างเป็นขั้น เป็นตอน เป็นกระบวนการในช่วง 3 ปีหรือ 4-5 ปีข้างหน้า แนวทางนี้ ถึงแม้ว่าจะไม่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยตรง แต่จะช่วยคลี่คลายปัญหา ช่วยคลี่คลายความหวาดระแวง และประการสำคัญ ช่วยคลี่คลายความมุ่งมาดปรารถนาของการใช้กำลัง เพราะการใช้ใช้กำลังไม่ว่าจากฝ่ายไหนก็ตาม ถ้าขาดเสียซึ่งฐานความเห็นชอบของประชาชนส่วนใหญ่แล้ว ไม่คิดว่าจะเป็นความยั่งยืน

น้ำท่วมอยุธยา-สุโขทัยอ่วม! ชาวเฟซบุ๊กโพสต์ "ธาราลิมปิค 2012"เริ่มแล้ว



ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 11 กันยายน ว่า สถานการณ์การน้ำล้นตลิ่งจากแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อย ไหลเข้าท่วมชุมชน สองฝั่งแม่น้ำในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่อำเภอบางบาล อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอเสนา และ อำเภอผักไห่ มีระดับเพิ่มสูงขึ้นอีก 20 เซนติเมตร และทำให้ในพื้นที่ลุ่มต่ำ บางตำบล ถูกน้ำท่วมสูงแล้วเกือบ 1 เมตร อย่างไรก็ตาม พื้นที่ถูกน้ำท่วม ได้ขยายวงกว้างเพิ่มขึ้นทุกเวลา เพราะเขื่อนเจ้าพระยา เร่งปล่อยระบายน้ำ ในประมาณสูงอย่างต่อเนื่อง


สำหรับอำเภอบางบาล ได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะมีเส้นทางน้ำเหนือไหลผ่าน ถึง 4 เส้นทาง

ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย คลองโผงเผง คลองบางบาล โดยที่ตำบลบ้านกุ่มและตำบลบางชะนี ชาวบ้านหวั่นวิตกว่า หากน้ำขึ้นสูงอย่างรวดเร็วแบบนี้ ถนนโครงข่ายในชุมชนจะถูกท่วมทั้งหมดในระยะ 1-2 วัน


ส่วนกระสังคมในโลกออนไลน์ โดยเฉพาะเฟซบุ๊ก ในกลุ่มคนอยุธยา

พบว่า มีการโพสต์แสดงความหวั่นวิตกว่าจะเกิดน้ำท่วมใหญ่เหมือนปี 2554 โดยมีการโพสต์ภาพน้ำท่วม พร้อมระบุข้อความว่า "เริ่มแล้ว ธาราลิมปิค 2012 การแข่งขัน ยกของขึ้นที่สูง ทำกระสอบทราย ทำพนังกั้นน้ำ กินลำบาก ลุยน้ำมาราธอน เริ่มแล้ววันที่ สุโขทัยและอยุธยา และเตรียมตัวเข้าแข่งขัน ใกล้บ้านท่านในเร็ววันนี้"



วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

บทความ : วิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบันของประเทศไทย ระหว่างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง กับ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่มาจากการเมืองภาคประชาชน

“บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้” ย่อหน้าที่ ๑ มาตรา ๖๘ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒๕๕๐

“บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้” มาตรา ๗๐รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒๕๕๐ข้อความข้างต้น ได้ถูกนำมาเป็นข้ออ้างของแต่ละฝ่ายเพื่อสร้างความชอบธรรมในการกระทำของตนเอง โดยถือหลักการเดียวกันตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน แต่มีแนวคิดและวิธีการดำเนินการที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง จนทำให้เป็นข้อถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชนที่ให้การสนับสนุนการกระทำ(Acts) ของทั้งสองฝ่าย จนขณะนี้ทำให้เกิดสภาวะในสังคมที่เรียกว่า “สภาวะแตกแยกทางความคิดในหมู่ประชาชน”

สภาวะแตกแยกทางความคิดในหมู่ประชาชนนั้น ได้ก่อร่างสร้างตัวมาอย่างเป็นระบบ โดยต้องย้อนกลับไปดูการเลือกตั้งในอดีต ครั้งที่พรรคไทยรักไทย ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน โดยได้จัดตั้งรัฐบาลเป็นเสียงข้างมากเพียงพรรคเดียว เหตุที่พรรคไทยรักไทยนั้นได้รับความนิยมชมชอบจากประชาชนเป็นจำนวนมาก สืบเนื่องมาจากนโยบายประชานิยม ที่พรรคไทยรักไทยได้นำเอาแนวคิดของนักคิดแนวอรรถประโยชน์นิยม(Utilitarianism) มาประยุกต์ใช้ โดยที่ให้ประชาชนระดับรากหญ้า หรือประชาชนที่อยู่ในชนบท ได้รับผลประโยชน์จากการดำเนินของนโยบายของรัฐบาลมากที่สุด โดยประชาชนที่อยู่ในชนบทได้เข้าถึงงบประมาณต่างๆ ที่รัฐได้จัดสรรให้ ซึ่งประชาชนระดับนี้ถึงว่าเป็นประชากรจำนวนมากอันดับหนึ่งของประเทศ

การเลือกตั้งครั้งนั้น จึงทำให้พรรคไทยรักไทยสามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้สำเร็จ ซึ่งเป็นไปตามเจตจำนงของประชาชนส่วนมากที่ได้ให้ความไว้วางใจในพรรคไทยรักไทย อีกทั้งยังเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ หรือที่เรียกว่ารัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ซึ่งต้องการให้พรรคการเมืองมีความเข้มแข็ง รวมถึงความสามารถในการบริหารงานของรัฐบาล ผลพวงจากปรากฏการณ์ รัฐธรรมนูญปี ๔๐ ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่เรียกว่าดีที่สุดฉบับหนึ่งเท่าที่เคยมีมา ทำให้การบริหารงานของรัฐบาลภายใต้พรรคไทยรักไทยกลายมาเป็นคำพูดที่ติดปากในวงการเมืองว่าเป็นการบริหารงานแบบ เผด็จการรัฐสภา

การบริหารงานของรัฐบาลในครั้งนั้นได้รับการโจมตีอย่างมาก ไม่ว่าจะในด้านของการแทรกแซงองค์กรอิสระต่างๆ การออกกฎหมาย การละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมถึงการคุกคามสื่ออย่างรุนแรง ซึ่งเหตุต่างๆ เหล่านี้ได้ถูกเพาะบ่มอยู่ในสังคมอย่างเป็นระบบ ประชาชนระดับกลางที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ เริ่มเกิดความไม่พอใจในการบริหารงานของรัฐบาล อีกทั้งยังเริ่มความไม่ไว้วางใจในการบริหารประเทศ ดูได้จากการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้สมัครจากพรรคฝ่ายค้าน-พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนแนวความคิดแบบอนุรักษ์นิยม (Conservative) ได้รับคะแนนสูงสุดจากประชาชน โดยได้รับความวางใจให้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งนับเป็นก้าวแรกของการต่อต้านอย่างเป็นระบบในหมู่ประชาชนระดับกลาง และถือได้ว่าเป็นก้าวแรกของการเกิดกลุ่มการเมืองภาคประชาชนที่เรียกตนเองว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

จากเหตุการณ์ครั้งนั้น จนมาถึงการยุบสภาของพรรคไทยรักไทย และตลอดการเลือกตั้งที่ได้พลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ทางการเมืองไทยอีกครั้งไม่ว่าจะเป็นปรากฏการณ์ไม่เอา ไทยรักไทยในหมู่ประชาชนระดับกลาง การลงคะแนนเลือกตั้งแบบใหม่(Vote no) การวินิจฉัยของศาลการเลือกตั้งปี ๒๕๔๘ เป็นโมฆะ การยุบพรรคไทยรักไทยในข้อหาทางการเมือง การปฏิวัติรัฐประหาร ๑๙ กันยา ๔๘ การยุติการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ การลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ และการเลือกตั้งหลังจากได้รับรัฐธรรมนูญใหม่

เหตุการณ์เหล่านี้ล้วนอยู่ในความสนใจของประชาชนทุกระดับ ซึ่งได้เฝ้ามองดูว่าเหตุการณ์แต่ละอย่างที่ได้เกิดขึ้นนั้น จะมีจุดจบลงอย่างใด ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว กลุ่มขั้วอำนาจเดิมทางการเมืองก็ได้กลับเข้ามาเป็นผู้บริหารประเทศอีกครั้งเพียงแต่ครั้งนี้ ได้เปลี่ยนชื่อพรรคจากไทยรักไทยที่ถูกยุบเป็นพรรคพลังประชาชน และหัวหน้าที่พรรคคนใหม่จาก พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่โดนปฏิวัติจนต้องอาศัยอยู่ต่างประเทศเป็น นายสมัคร สุนทรเวช ทำให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตกลับมาเข้ารูปแบบเดิมอีกครั้ง ถ้าหากจะนำเหตุการณ์ต่างๆมาวิเคราะห์ให้ลึกไปในรายละเอียด ปัจจัยต่างๆ ที่เป็นตัวเร่งและเป็นตัวเสริม ก็เป็นปัจจัยเดิมๆ แต่ครั้งนี้มีปัจจัยที่เพิ่มเข้ามาเป็นพิเศษกว่าครั้งที่แล้ว คือ การเมืองภาคประชาชน หากจะนำเหตุการณ์ต่างๆมาวิเคราะห์ตามแนวทฤษฎีทางการเมือง มีทฤษฎีอยู่มากมายที่สามารถนำมาใช้ในการอธิบายหรือวิเคราะห์เหตุการณ์ทางการเมืองของไทยได้ แต่ที่ได้รับความนิยมและนำมาอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองได้อย่างเป็นระบบคือ ทฤษฎีระบบของเดวิด อีสตั้น และทฤษฏีโครงสร้างและหน้าที่ของทัลคอตต์ พาร์สัน

ทฤษฎีระบบของ เดวิด อีสตัน มีฐานคติที่สำคัญว่าการเมืองดำรงอยู่เป็นอย่างมีระบบเสมือนหนึ่งชีวิตการเมือง (Political Life) กล่าวคือ ระบบการเมือง ประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ ทั้งองค์ประกอบภายใน อันได้แก่ สถาบันการเมืองต่างๆ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นองค์ประกอบภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการทำงานของระบบการเมือง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมทางการเมือง กับสภาพแวดล้อม มีลักษณะเป็นพลวัต (Dynamic system) มีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ ก่อให้เกิดลักษณะที่เรียกว่า “ชีวิตการเมือง” ความสัมพันธ์ระหว่างระบบการเมืองกับสภาพแวดล้อม จะเป็นไปในลักษณะที่สิ่งใดเกิดขึ้นภายในสภาพแวดล้อมจะส่งผลกระทบเข้าสู่ระบบการเมือง ในรูปแบบของปัจจัยนำเข้า (Inputs) ระบบการเมืองจะต้องทำหน้าที่ตัดสินใจและนำการตัดสินใจนั้นไปสู่การปฏิบัติผลผลิตของระบบการเมือง คือ ปัจจัยนำออก (Outputs) ซึ่งจะกลับเข้าสู่ระบบในรูปของปัจจัยสิ่งแวดล้อม หรือในบางกรณีอาจจะส่งกลับโดยตรงเข้าสู่ระบบการเมืองโดยไม่ต้องผ่านปัจจัยสิ่งแวดล้อม ปัจจัยสิ่งแวดล้อมจะนำเข้าสู่ระบบการเมืองในรูปแบบของความต้องการ (Demands) และการสนับสนุน (Supports) ความสัมพันธ์ระหว่างระบบการเมืองและปัจจัยสิ่งแวดล้อม แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า แท้จริงแล้วปัจจัยนำออกก็คือผลผลิตของระบบการเมือง ดังนั้น ความสัมพันธ์เหล่านี้จะมีความต่อเนื่องโดยตลอด

โดยระบบการเมืองนั้น จะเป็นโครงสร้างศูนย์กลางของ ระบบหรือปฏิสัมพันธ์ระหว่างสถาบันทางการเมืองที่ทำหน้าที่ในการตัดสินใจ เพื่อจัดสรรค่านิยมให้แก่สังคม ส่วนการจัดสรรนั้นหมายถึงอำนาจในการตัดสินใจในการให้หรือไม่ให้ค่านิยมนั้นแก่สังคม ซึ่งระบบการเมืองนั้นจะประกอบไปด้วยสถาบันทางการเมืองต่างๆ เช่น สถาบันนิติบัญญัติ ตุลาการ และบริหาร พรรคการเมือง ระบบราชการ กลุ่มอิทธิพล และกลุ่มผลประโยชน์ เป็นต้น

ดังนั้นหากเราจะนำเอาปัจจัยต่างๆ ทางการเมืองของไทยที่เกิดขึ้นมาวิเคราะห์ตามแนวทฤษฎีนี้ พอที่จะทำให้เราสามารถพยากรณ์และอธิบายเหตุการณ์หรือพฤติกรรมทางการเมือง ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างเป็นระบบ โดยมีฐานคติ (Assumption) ที่ว่า พฤติกรรมของมนุษย์ที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจากการเดาสุ่ม หรือไม่มีแบบแผนของพฤติกรรม แต่สามารถที่จะหาลักษณะที่เกิดขึ้นเป็นประจำ และสามารถสร้างเป็นกฎเกณฑ์ของพฤติกรรมได้

จากสถานการณ์ปัจจุบันความต้องการของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือ พธม. ต้องการที่จะสลายขั้วการเมืองของกลุ่มพรรคพลังประชาชน หรือไทยรักไทยเดิมที่มีอำนาจในการบริหารประเทศ โดยให้เหตุผลเดียวกันกับครั้งในอดีต คือ เป็นระบบการเมืองที่เลวร้ายตามแนวความคิดของตน จากเหตุการณ์ครั้งนั้น ปัจจัยนำเข้าที่นำมาสนับสนุนจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญคือ การเผชิญหน้าระหว่างประชาชนที่ให้การสนับสนุนทั้งสองฝ่าย ระบบการเมืองไม่สามารถที่จะดำเนินไปภายใต้กระบวนการของระบบได้ ปัจจัยนำออกของระบบจึงไม่มี จึงทำให้ทหารต้องออกมาระงับเหตุการณ์ทางการเมืองก่อนที่จะทำให้ ประชาชนที่ให้การสนับสนุนทั้งสองฝ่ายต้องเผชิญหน้ากัน อาจทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้ในครั้งนี้ปัจจัยนำเข้ายังอยู่ในขั้นตอนของกระบวนการขั้นแรก คือ ความต้องการเดิมมีอยู่ แต่มีปัจจัยสนับสนุนเพิ่มเข้ามาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเมืองภาคประชาชนที่มีการตื่นตัวอยู่ตลอดเวลากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และที่สำคัญคือระบบการเมืองก็ยังดำเนินกระบวนการอยู่ได้ เพียงแต่มีบางส่วนเริ่มที่จะไม่ทำงานได้ด้วยตัวเอง เช่น ระบบตุลาการ กลุ่มพันธมิตรฯ เองก็ไม่ยอมรับฟังคำสั่งของศาล ไม่ว่าจะเป็นขัดขืนคำสั่งศาลในกรณีต่างๆ ระบบรัฐสภาเริ่มที่จะด้อยประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่สามารถที่จะสั่งการใดๆ ได้อย่างมีประสิทธิผล ตลอดจนกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ เริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อฉวยโอกาสหาผลประโยชน์ให้กับกลุ่มตนเอง โดยอาศัยเหตุการณ์ทางการเมืองเป็นเครื่องมือในการต่อรอง ซึ่งในช่วงนี้ปัจจัยนำออกที่เป็นองค์ใหญ่ของระบบยังไม่สามารถที่จะนำออกมาได้ เนื่องจากระบบการเมืองยังทำการตัดสินใจอยู่ แต่มีสิ่งเดียวที่จะเร่งให้ระบบการเมืองสร้างปัจจัยนำออกได้ ก็คือ ความสามารถของรัฐบาล ในการดำเนินการตามกฎหมายกับกลุ่มพันธมิตรฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้รับความร่วมมือจากระบบการเมืองอื่นๆ อย่างเต็มที่ แต่ตราบใดก็ตาม ถ้าระบบยังไม่สามารถควบคุมเวลาการทำงานของกระบวนการทางการเมือง หรือกระบวนการทางการเมืองหยุดชะงักลงด้วยเหตุผลใดก็ตาม เหตุการณ์ก็จะกลับไปเป็นเหมือนเดิม คือ การเผชิญหน้าของฝ่ายสนับสนุนกลุ่มต่างๆ อีกครั้ง

ทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่ เป็นอีกหนึ่งทฤษฎีทางสังคมวิทยา ที่สามารถนำมาใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์ทางการเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแนวคิดนี้ ทัลคอตต์ พาร์สัน นักสังคมวิทยา ชาวอเมริกัน ได้ให้แนวคิดว่า ระบบสังคม หรือระบบการเมืองสามารถที่จะรักษาระบบของตนเองไว้ได้จะต้องทำหน้าที่สำคัญ สี่ประการคือ

หนึ่ง ดำเนินไปเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ ระบบจะต้องมีวัตถุประสงค์ เพราะวัตถุประสงค์มีความจำเป็นเพื่อความอยู่รอดของระบบ สมาชิกของระบบจะอยู่ได้อย่างมีความสุข จะต้องมีการถ่ายทอดและควบคุมวัตถุประสงค์ให้สมาชิกได้รับรู้ และควบคุมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของระบบ จากเหตุการณ์ปัจจุบันระบบไม่สามารถที่จะควบคุมหรือถ่ายทอดให้สมาชิกในระบบรับรู้ถึงวัตถุประสงค์ของระบบได้แล้วนั้น ก็ไม่สามารถที่จะควบคุมสมาชิกในระบบได้ เนื่องจากปัจจุบันสมาชิกในระบบได้รับความรู้ใหม่เพิ่มเติมจากประสบการณ์ทางการเมืองด้วยตนเองอย่างมีระบบ มีการปลูกฝังแนวคิดจากผู้นำทางการเมืองภาคประชาชน จึงทำให้ระบบไม่สามารถควบคุมสมาชิกได้ตามที่ระบบต้องการ

สอง ระบบจะต้องมีการปรับตัว กล่าวคือการปรับตัวของระบบมีความสำคัญอย่างมาก ระบบจึงต้องหาวิธีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพื่อที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ของระบบได้ แต่ระบบการเมืองของไทยปัจจุบัน ไม่มีการการปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของประชาชนที่มีการเปลี่ยนแปลงทางความคิดทางการเมือง จึงทำให้ระบบการเมืองไม่สามารถที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างที่ต้องการ

สาม ระบบจะต้องมีการบูรณการ คือจะต้องผสมผสานส่วนต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อระบบให้เกิดความเข้าใจอันดีภายในระบบ ช่วยให้การทำงานต่างๆ ของระบบเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมายของระบบ อีกทั้งเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความตึงเครียดทางการเมืองที่อาจจะเกิดขึ้นในระบบ แต่ส่วนสำคัญในที่นี้ของระบบได้หายไป คือ สถาบันทางการเมืองต่างๆ ไม่สามารถที่จะมีประสิทธิภาพในการทำงานส่วนนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็น สถาบันทางการเมืองต่างๆ ที่ไม่สามารถจะทำงานร่วมกันได้ดีระหว่าง สส. กับ สว. ระหว่างนักการเมืองกับข้าราชการประจำ จึงทำให้ระบบไม่สามารถที่จะผสมผสานส่วนเหล่านี้ได้ ระบบจึงเกิดข้อบกพร่องในตัวระบบเอง

สี่ ระบบจะต้องมีการจัดการกับความตึงเครียด ซึ่งเป็นธรรมดาของระบบที่เป็นสังคมที่ประกอบด้วยกลุ่มคนจำนวนมาก จึงอาจทำให้เกิดการขัดแย้งกันได้ สถาบันที่มีความจำในการทำหน้าที่ส่วนนี้คือ สถาบันศาล และศาสนา ซึ่งจะต้องเป็นส่วนที่จะทำให้ความขัดแย้งนี้ให้หมดไป แต่ในระบบการเมืองขณะนี้ ระบบศาลเองก็ไม่ได้ถูกให้ความเคารพจากสมาชิกในระบบเท่าใดนัก ดูได้จากการที่ได้มีการละเมิดคำสั่งศาลอยู่ในเหตุการณ์ปัจจุบัน อีกทั้ง สถาบันทางศาสนาก็ไม่ได้ออกมาทำหน้าที่ในส่วนนี้แต่อย่างใด จึงทำให้หน้าที่ในส่วนนี้ของระบบมีความบกพร่อง ทั้งที่มีส่วนสำคัญและจำเป็นอย่างมากในเวลานี้

กล่าวโดยสรุป จากที่ได้มีการนำทฤษฎีของทั้งสองนักคิดมาวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีระบบของเดวิด อีสตั้น ที่สามารถวิเคราะห์และพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างเป็นประจำในพฤติกรรมทางการเมือง และทฤษฏีโครงสร้างและหน้าที่ของทัลคอตต์ พาร์สัน ซึ่งได้กล่าวถึงหน้าที่สำคัญของระบบว่าจะต้องมีการทำหน้าที่อย่างใด เพื่อที่จะทำให้ระบบนั้นบรรลุวัตถุประสงค์ได้ เมื่อวิเคราะห์แล้วนั้น ทำให้ทราบได้ว่าเหตุการณ์ที่จะเป็นไปตามทฤษฎีระบบนั้น มีอยู่สองแนวทางคือ ถ้าทหารไม่ออกมาปฏิวัติอีกหนึ่งครั้งเพื่อยุติการเผชิญหน้าของกลุ่มสนับสนุนทั้งสองฝ่าย ก็จะเป็นการล่มสลายของการชุมนุมของผู้ประท้วง ซึ่งได้รับการสนับสนุนการทำงานจากสถาบันทางการเมืองที่มีอยู่ในระบบ ในส่วนของการนำทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่มาวิเคราะห์นั้น ก็เพื่อที่จะหาจุด บกพร่อง ของระบบ เพื่อทำการแก้ไขให้ระบบนั้นได้ทำหน้าที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากการวิเคราะห์จะเห็นว่า จะต้องให้ระบบที่ทำหน้าที่ให้การจัดการกับความตึงเครียด ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ คือ ศาลจะต้องสร้างความเชื่อมั่นว่าสิ่งที่ได้วินิจฉัยออกมาแล้วนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุดแห่งบริบทนั้นๆ เมื่อระบบนี้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ระบบที่มีหน้าที่ในการบูรณการจะต้องทำหน้าที่ในการสร้างความเข้าใจอันดีให้เกิดขึ้นภายใต้จุดมุ่งหมายของระบบคือ สถาบันพระมหากษัตริย์ และสถาบันทางการเมือง เมื่อระบบทำหน้าที่ได้อย่างดีเยี่ยมทั้งสองระบบแล้ว ระบบต่อมาคือต้องทำการปรับตัว ค้นหาแนวคิดหรือแนวทางที่จะเสริมสร้างพลังต่างๆ ภายในระบบให้ดีขึ้น เพียงเท่านี้ระบบก็จะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์เพื่อความอยู่รอดของระบบได้ด้วยตัวของระบบเอง

หากระบบและโครงสร้างไม่สามารถทำงานได้ด้วยกระบวนการ และหน้าที่ของระบบเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความบกพร่องในระบบและหน้าที่จะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ซึ่งไม่อาจจะละเลยได้ว่าจะมีผลกระทบต่อระบบเหล่านั้นอย่างรุนแรง หากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองยังไม่บรรเทาหรือยุติลง

ผลกระทบในด้านสังคมที่จะปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจนคือ ความแตกแยกของประชาชนในสังคม ในการที่จะแบ่งข้าง แบ่งฝ่าย ชอบหรือไม่ชอบด้วยการแสดงออกที่รุนแรง ไม่ว่าจากหน้าข่าวหนังสือพิมพ์ต่างๆ ที่ได้รายงานเหตุการณ์ทำร้ายร่างกาย จนถึงการเสียชีวิต เนื่องจากความคิดเห็นที่ขัดแย้งกัน อีกทั้งในด้านเศรษฐกิจซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในกระบวนการที่สำคัญของระบบการพัฒนาประเทศ ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบด้านเศรษฐกิจในประเทศ จากการนัดหยุดงานของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการขนส่งทางน้ำ ทางบก และทางอากาศ ซึ่งผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจในประเทศเหล่านี้ได้สะท้อนไปเป็นปัญหาสำคัญทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ทั้งในส่วนของภาคการนำเข้าและส่งออก ทำให้กระทบไปถึงความเชื่อมั่นต่อการลงทุนทั้งในประเทศและจากต่างประเทศ โดยจะเชื่อมโยงไปถึงความเชื่อมั่นทางการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นอีกอำนาจหนึ่งในการต่อรองทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นด้านการค้า การลงทุน หรือการให้ช่วยเหลือจากต่างประเทศ อีกทั้งยังกล่าวได้ว่า สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญในการที่จะขับเคลื่อนระบบของประเทศทั้งระบบให้พัฒนาเทียบเท่าอนารยประเทศต่างๆ ได้

บทสรุป ดังข้อความในสองย่อหน้าแรกนั้น พอที่จะทำให้เข้าใจได้ว่า ทั้งสองกลุ่มนั้นมีความเลื่อมใสและศรัทธา ในการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทางเป็นประมุข เพียงแต่แนวคิด หรือวิธีการในการปฏิบัติของทั้งสองกลุ่มนั้นก็ไม่ได้เป็นไปตามหลักการแห่งประชาธิปไตยเสียทีเดียว โดยกลุ่มฝ่ายพันธมิตรฯนั้นก็ไม่ได้ดำเนินการภายใต้กรอบแห่งหลักการประชาธิปไตยโดยยังอ้างเอาหลักเสียงส่วนน้อยที่ตนมีอยู่ ว่าเป็นความต้องการของคนทั้งประเทศ ฝ่ายรัฐบาลเองนั้นก็ละเลยเสียงส่วนน้อยว่าไม่มีความสำคัญ จนทำให้เกิดเหตุการณ์บานปลายไปจนถึงขั้นยึดสถานที่ราชการของกลุ่มพันธมิตรฯ ทำให้นานาชาติเกิดความหวั่นวิตกว่าจะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดทางการเมืองไทย ถ้าหากระบบและโครงสร้างยังไม่ทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประเทศก็ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาอย่างแน่นอน ทางออกของปัญหานี้ที่พอจะบรรเทาความรุนแรงลงได้ ให้ไปดูว่าระบบใดในสังคมขณะนี้ทำหน้าที่บกพร่อง หรือยังทำหน้าที่ของตนเองได้ไม่เต็มที่ ก็ให้เข้าไปทำหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพ โดยการทำหน้าที่นั้นจะต้องคำนึงถึงบริบทที่เปลี่ยนไปทุกขณะ เพียงเท่านี้ระบบก็จะสามารถทำงานได้ด้วยตนเองและจะนำพาประเทศไทยและการเมืองไทยไปสู่เป้าหมายที่ดีได้ในอนาคต ดังคำของพระพุทธเจ้าที่มีอยู่ในสังยุตนิกายเล่าว่า “เรื่องที่ตรัสรู้และรู้นั้นมันมาก เท่ากับใบไม้ทั้งป่า แต่เรื่องจำเป็นที่ควรรู้ ควรนำมาสอนและนำมาปฏิบัตินั้นเท่ากับใบไม้กำมือเดียว”

การเดินทางของนายกฯยิ่งลักษณ์

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

พัฒนาการสังคมไทย

สังคมไทยในยุคโลกาภิวัตน์
สังคมไทย คือ กลุ่มคนไทยที่ตั้งถิ่นฐานทำมาหากินต่อเนื่องกันมา ในพื้นที่ที่มีขอบเขตจำนวนหนึ่ง บุคคลที่อยู่ในสังคมหนึ่งล้วนต้องพึ่งอาศัย และมีภาระหน้าที่ที่เป็นภาระส่วนตัว ครอบครัว และภาระหน้าที่ต่อชุมชน เช่น การปกป้องรักษาความสงบเรียบร้อยให้ชุมชน การปฏิบัติหน้าที่ในการส่งเสริมสถาบันต่างๆ เช่น สถาบันศาสนา เพื่อเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจให้สงบ ด้วยเหตุที่สังคมต้องการความมั่นคงปลอดภัยเป็นพื้นฐาน ชุมชนแต่ละแห่งจึงต้องมีความสามัคคีกัน มีอุดมการณ์ร่วมกัน

อันเนื่องมาจากพัฒนาการของแต่ละชุมชนในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน นักสังคมวิทยา จึงแบ่งชุมชนออกเป็น 2 ชนิด คือ ชุมชนแบบชนบท และชุมชนแบบเมืองหรือนคร

สังคมชนบท
คำว่า ชนบท ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน อธิบายว่า หมายถึง “บ้านนอก” และคำว่า บ้านนอก หมายถึง “เขตแดนที่ห่างจากตัวเมืองออกไป “คำจำกัดความดังกล่าวเป็นเพียงการบอกปริมณฑลของสองชุมชุนเท่านั้น นักสังคมวิทยาได้เสนอรายละเอียดที่เป็นลักษณะบางอย่างของชนบท ดังนี้
  • อาชีพชนบท มักประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก เช่น การปลูกข้าว ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น
  • ขนาดของชุมชนมีขนาดเล็ก จึงทำให้คนในชุมชนรู้จักมักคุ้นกัน รับรู้เรื่องทุกข์สุขของ ครอบครัวเพื่อนบ้าน และพึ่งพาอาศัยกันได้พอสมควร
  • การพึ่งพาธรรมชาติสูง โดยเฉพาะอาชีพทางการเกษตรกรรม ต้องอาศัยน้ำฝนเป็นหลักทำให้วิถีชีวิตผูกพันกับประเพณี ความเชื่อในเรื่องอำนาจเหนือธรรมชาติสูงกว่าคน เมือง ซึ่งอาจดำรงชีวิตต่าง จากชีวิตเกษตรกร
  • ค่าครองชีพต่ำ คือสามารถอยู่หากินได้ดีกว่าชุมชนเมือง ยังสามารถพึ่งอาศัยทรัพยากรธรรมชาติ ท้องนา ผืนป่า แหล่งน้ำ เป็นแหล่งหาอาหารหรือผลิตอาหารได้
  • ไม่เคร่งเครียดกับการต่อสู้ เพื่อความอยู่รอด เท่าวิถีชีวิตของชาวเมือง ซึ่งผูกพันกับค่า จ้าง ค่าแรงรายวัน การทำงานตามเวลาที่กำหนด การนัดหมายจึงเป็นเรื่องที่ชาว ชนบทรับรู้ เมื่อเข้ามาทำงานในเมือง
  • ความเจริญและเทคโนโลยีสมัยใหม่ยังไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะระบบการสื่อสารยุคใหม่ โทรสาร โรงแรม ร้านค้า ที่ทันสมัยมีน้อย ดังนั้นความเจริญของชนบทจึงล่าช้ากว่าชุมชนเมือง
  • การรวมกลุ่มเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมผลประโยชน์ มีการรวมตัวกันง่ายกว่าชุมชนเมือง ซึ่งมีกลุ่มอาชีพผลประโยชน์แตกต่างกัน


  • วิถีชีวิตของคนไทยที่อาศัยอยู่ในชนบท เป็นคนกลุ่มใหญ่ มีจำนวนมากกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในเมือง หากจะนับถอยหลังไปในอดีต ทั้งชุมชนในชนบทและชุมชนเมืองก็ยังมีชีวิตความเป็นอยู่ไม่แตกต่างกันมากนัก เพียงแต่เมื่อมีการตั้งเมืองหลวงขึ้นเป็นศูนย์กลางอาณาจักร ชุมชนนั้นก็ใหญ่โตด้วยผู้คนภายในพระราชวังและบริเวณรอบๆ เขตเมืองหลวงเท่านั้น จนเมื่อความเจริญจากตะวันตกเริ่มเข้ามรในคริสต์ศตวรรษที่ 19 หรือนับแต่สยามทำสนธิสัญญาเบาริงกับอังกฤษ ใน ค.ศ. 1855 และชาติตะวันตกอื่นๆ ในเวลาต่อมา ความแตกต่างในด้านความเจริญทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ในราชธานี ก็เริ่มแตกต่างจากชนบท แต่ชุมชนอื่นๆ ทั่วไปก็ยังเป็นชุมชนแบบชนบท การเริ่มเป็นชุมชนเมืองและชนบทจึงมีวิวัฒนาการที่เห็นชัดเจนในยุคอุตสาหกรรม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา



อย่างไรก็ตาม วิถีชีวิตคนไทยมิใช่จะเหมือนกันทั้งประเทศ ด้วยสาเหตุที่แต่ละภูมิภาคมีสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนการเคลื่อนย้ายของประชากร กลุ่มเผ่าพันธุ์ อันเป็นผลมาจากปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ตลอดเวลา จึงทำให้สังคมในแต่ละภูมิภาคแตกต่างกันออกไป เพื่อความเข้าใจลักษณะของสังคมไทยในภาพรวม จึงขอนำเสนอภาพรวมของแต่ละภาค

สภาอุตฯหารือกระทรวงแรงงาน ชะลอขึ้นค่าแรง300 ออกไปปี 2558



สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เตรียมหารือกับกระทรวงแรงงาน เพื่อขอให้พิจารณาชะลอปรับค่าจ้างขั้นต่ำในอีก 70 จังหวัดออกไปเป็นปี 2558 เนื่องจากผู้ประกอบการขนาดย่อมได้รับความเดือดร้อน
บ่ายวันนี้ ( 20 เม.ย.) กระทรวงแรงงานเชิญตัวแทนภาคเอกชนให้คิดเห็นเพื่อกำหนดมาตรการรองรับการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเตรียมเสนอ 9 แนวทางลดผลกระทบจากการขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เช่น ให้ชะลอการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทในอีก 70 จังหวัดออกไปเป็นปี 2558 จากเดิมที่รัฐบาลกำหนดจะเริ่มในวันที่ 1 มกราคม 2556 รวมถึงการตั้งกองทุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำวงเงิน 10,000 -200,000 ล้านบาทรวมถึงลดภาษีเงินได้นิติบุคคล และลดการส่งค่าประกันสังคม เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดย่อมและขนาดกลางที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการปรับค่าแรงขั้นต่ำ
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ภาคเอกชนไม่ต้องการกดดันภาครัฐ แต่อยากให้ทุกฝ่ายหาทางออกร่วมกัน เพราะการปรับค่าจ้างขั้นต่ำจะช่วยเหลือรายได้ให้แรงงานด้วย
ขณะที่นายบัณฑูร ลำซ่ำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เห็นนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะทำให้ประชาชนมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น แต่ขณะเดียวกันเป็นการเพิ่มต้นทุนผู้ประกอบการด้วย ดังนั้นจึงต้องมีการบริหารจัดการให้ดี และต้องประเมินว่า ภาคธุรกิจจะรับมือไหวหรือไม่ คาดว่า 6 เดือน ถึง1 ปี น่าจะเห็นผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวได้ชัดเจน แต่ภาคธุรกิจเองควรปรับตัวด้วยการยกระดับทักษะแรงงาน และ ราคาสินค้า รวมทั้งการนำเอาเครื่องจักรมาใช้ทดแทน

บทความเรื่อง ปัญหาน้ำท่วมกับคนไทย

  ช่วงนี้เรื่องที่เป็นหัวข้อสนทนาของคนส่วนใหญ่คงไม่พ้นเรื่อง  น้ำท่วม ที่ตามหน้าข่าวหนังสือพิมพ์ วิทยุโทรทัศน์หรือในโลกอินเตอร์เน็ตที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว  การใช้เครือข่ายชุมชนออนไลน์ได้ทะยานสูงขึ้นอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อนในเมืองไทย เนื่องจากคนไทยต้องการรู้ข่าวสารข้อมูล สาเหตุเนื่องจากความสับสนจากข้อมูลเกี่ยวกับภัยวิกฤตน้ำท่วมจากเจ้าหน้าที่รัฐบาล โดยขณะนี้คนไทยต่างโพสต์ถ่ายภาพน้ำท่วมผ่านเว็บไซต์เฟซบุ๊คและอินเตอร์เน็ตกลายเป็นเครื่องมืออัพเดทข่าวสารวิกฤตน้ำท่วมของคนไทยชนิดนาทีต่อนาที  นายจอห์น รัสเซลล์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโซเชี่ยล มีเดีย "The Next Web"บอกว่า ตอนนี้มีคนไทยจำนวนมากได้สร้างบล็อของตัวเองขึ้นมา รวมทั้งใช้เว็บไซต์ทวิตเตอร์ กันอย่างมากมาย โดยอินเตอร์เน็ตกลายเป็นทุกสิ่งอย่างที่สำคัญในช่วงสถานการณ์น้ำท่วมที่รวมรวบข่าวสารจากหลายแหล่งเกี่ยวกับเส้นทางการจราจรและวิธีการแนะนำให้ผู้คนรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วม
            รายงานยังระบุว่าคนไทยได้ใช้ทวิตเตอร์เพิ่มขึ้น20%ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคมที่มีคนใช้ 600,000 คน เป็น 720,000 คน ส่วนเฟซบุ๊คมีผู้เป็นสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 12 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นเป็น 18% ของประชากรทั้งหมด จากช่วงต้นปีที่มีผู้เป็นสมาชิก 7 ล้านคน นอกจากนี้ คำว่า"น้ำท่วม"ยังถูกเสิร์ชค้นหาเป็นจำนวนมากถึง 5 แสนครั้ง ส่วนอันดับสองคือสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 [1]
            สำหรับปัญหาน้ำท่วมในประเทศไทยไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น   แต่โดยแท้จริงแล้วเกิดขึ้นหลายครั้งหลายหนแต่ที่เลวร้ายที่สุดน่าจะเป็นปี น้ำท่วมกรุงเทพฯ พ.ศ. 2485 โดยครั้งนั้น น้ำได้ท่วมตามสถานที่สำคัญต่างๆฯ ในกรุงเทพฯ เช่น สถานีรถไฟหัวลำโพง ถนนเยาวราช อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ภูเขาทอง ถนนราชดำเนิน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รวมถึงพระที่นั่งอนันตสมาคมและ น้ำท่วม พ.ศ. 2538 มีฝนตกในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากพายุหลายลูกพัดผ่าน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา และมีสภาพฝนตกหนักในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม เนื่องจากพายุ “โอลิส” ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูง โดยวัดที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2538 มีค่าระดับสูงถึง 2.27 เมตร (รทก.) ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์(เท่าน้ำท่วมปี พ.ศ. 2485 ) ทำให้น้ำล้นคันป้องกันน้ำท่วมริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าท่วมพื้นที่ริมแม่น้ำในระดับสูงถึง 50 – 100 ซ.ม.[2]
อุทกภัยน้ำท่วมในประเทศไทย พ.ศ. 2554 เป็นอุทกภัยรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างฤดูมรสุมในประเทศไทย พ.ศ. 2554 ผลกระทบหนักที่สุดอยู่ที่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา รวมไปถึงที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง เหตุการณ์กินเวลาตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมและยังคงดำเนินมามากกว่าสองเดือนจนถึงปัจจุบัน จนถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน มีรายงานผู้เสียชีวิตแล้ว 527 ราย สูญหาย 3 ราย และมีผู้ได้รับผลกระทบ 2.9 ล้านครัวเรือน หรือกว่า 9.5 ล้านคนโดยประเมินความเสียหายอยู่ที่ 156,700 ล้านบาท ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม 2.31 แสนล้านบาท
อุทกภัยดังกล่าวทำให้พื้นดินกว่า 150 ล้านไร่ (6 ล้านเฮกตาร์) ซึ่งในจำนวนนี้เป็นทั้งพื้นที่เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมใน 63 จังหวัด 641 อำเภอ ตั้งแต่จังหวัดเชียงใหม่ สุโขทัย ตาก พิษณุโลก กำแพงเพชร ทางภาคเหนือ ไปจนถึง พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี ปทุมธานี นครนายก นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ ปราจีนบุรี กรุงเทพมหานคร ในที่ราบลุ่มภาคกลาง ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ นครราชสีมา ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง
อุทกภัยครั้งนี้ถูกกล่าวขานว่าเป็น "อุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดทั้งในแง่ของปริมาณน้ำและจำนวนผู้ได้รับผลกระทบ"  [3]และครั้งต่อไปที่คาดการณ์กันไว้ว่าน้ำท่วมจะท่วมครั้งใหญ่อีกครั้งปี พ.ศ.2561 น้ำที่เคยเป็นภาระเป็นครั้งคราวที่พอทนทานจึงกลับกลายเป็นวิกฤตของชาติโดยฉับพลันผู้เชี่ยวชาญด้านสภาวะอากาศของซีเอ็นเอ็นสรุปความผันแปรเรื่องน้ำเอาไว้ว่านี่เป็นหนึ่งเงาสะท้อนของภาวะโลกร้อนที่สาเหตุมาจากน้ำมือมนุษย์ด้วยความไม่เคยรู้เท่าทันน้ำที่ทำให้ฝืนธรรมชาติอย่างผิดๆคิดว่าเราสามารถบริหารจัดการน้ำนับหมื่นลูกบาศก์เมตรได้กลายเป็นวิกฤตน้ำที่ส่งผลกระทบมาเป็นวิกฤตของคนไทยและยังเกี่ยวโยงถึงวิกฤตของการบริหารจัดการเรื่องน้ำ[4] น้ำท่วมครั้งนี้ ยังมีคำถามที่หลายคนอยากรู้ก็คือ “จะมีผลกระทบอย่างไรกับเศรษฐกิจสิ่งที่มักจะพบคือเศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง จากความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อชีวิตต่อทรัพย์สิน โดยเฉพาะต่อโครงข่ายการผลิตที่ถูกทำลายไป ยิ่งภัยพิบัติเกิดขึ้นในเขตอุตสาหกรรม กรณีของไทยมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับว่าประชาชนได้รับความเสียหายมากแค่ไหน กรุงเทพฯจะท่วมเป็นบริเวณกว้างและนานหรือไม่ จะมีนิคมอุตสาหกรรมและโรงงานอีกกี่แห่ง ที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมรอบนี้สร้างความเสียหายร้ายแรงอย่างมาก ในอดีตความเสียหายจากน้ำท่วมจะจำกัดอยู่แค่ภาคการเกษตรตลอดจนครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในที่ลุ่มน้ำเป็นสำคัญ แต่ครั้งนี้น้ำท่วมลุกลามไปยังภาคอุตสาหกรรม ทำให้นิคมอุตสาหกรรมสำคัญ ๆของประเทศที่ทยอยกันจมน้ำ และกระทบต่อสถานประกอบการ โรงงานนับหมื่นและแรงงานมากกว่า 6 แสนคน การซ่อมแซมเครื่องจักร โรงงานที่ต้องจมน้ำไป อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่าบางแห่งกว่าจะกลับมาผลิตใหม่ได้ อาจต้องใช้เวลาถึง 3-6 เดือน ทำให้ระหว่างนี้แรงงานจำนวนมากของไทย มีปัญหาขาดรายได้อย่าง กะทันหันเป็นระยะเวลานาน ซ้ำเติมจากการที่บ้านเรือน สินทรัพย์ต้องเสียหายไปและเมื่อน้ำท่วมเข้ามากรุงเทพฯ ความเสียหายต่อสินทรัพย์ธุรกิจ และเศรษฐกิจก็จะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น จากแต่ก่อนที่น้ำท่วมต่างจังหวัด ชาวกรุงเทพฯ บริจาคช่วยเหลือ ตอนนี้ท่วมกันถ้วนหน้าต่างคนต่างต้องดูแลตนเอง เก็บเงินไว้ซ่อมบ้านตนเอง กระบวนการฟื้นฟูก็จะไม่ง่ายเหมือนเดิม           
            ในระยะยาวความเชื่อมั่นของนักลงทุนและนักธุรกิจต่างชาติในไทยหลังจากน้ำท่วมครั้งนี้ ต่อไปจะเกิดปัญหาเช่นนี้อีกไหมในอนาคต”รัฐบาลนอกจากจะ (1) ดูแลช่วยลดความทุกข์ของทุกคนจากน้ำท่วม (2) ออกมาตรการเยียวยาให้ประเทศฟื้นขึ้นมาได้แล้ว (3) จะมีโครงการสำคัญที่จะมาช่วยบริหารจัดการเรื่องน้ำอย่างจริงจัง เพื่อเป็นประกันให้กับทุกคนว่า “จะไม่เกิดน้ำท่วมใหญ่เช่นนี้อีกและรัฐบาลต้องสร้างความเชื่อมั่นให้นักธุรกิจที่มาลงทุนในไทยไม่ให้ย้ายการลงทุนไปประเทศอื่น[5]น้ำท่วมปีนี้จึงเกิดความเสียหายมากมายมหาศาลนับแสนล้านบาท  คนตกงานนับแสนยังไม่รวมความเสียหายต่อทรัพย์สินและความทุกข์ยากทางกายและใจอย่างเหนือคณานับทั้งๆที่นักวิชาการต่างยืนยันว่ามวลน้ำปีนี้มิได้มีมากกว่าปี2538[6]
 ปัญหา น้ำ ท่วม ที่ภัยธรรมชาติทีก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติอย่างใหญ่หลวงทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่ง แวดล้อม ซึ่งภัยธรรมชาติดังกล่าวก็ใช่ว่าจะเกิดจากธรรมชาติเป็นผู้กระทำเองทั้ง ร้อยเปอร์เซ็นต์หากแต่เป็นผลสืบเนื่องมาจากน้ำมือหรือการกระทำของมนุษย์นั่นเอง
          แต่สิ่งสำคัญคือ  "ไม่มีภัยธรรมชาติใดครั้งใดที่จะกลืนกินหรือทำลายชาติไทยเราได้ หากบ้านเมืองเราจะถูกทำลาย นั่นก็เพราะคนในชาติเอารัดเอาเปรียบกันเองดูดายในความเดือดร้อนของพี่น้องของเราเองเพราะจากสถานการณ์ตอนนี้นอกจากโรคติดต่อ และอาการบาดเจ็บทางกายทีเกิดขึ้น ในภาวะน้ำ ท่วมแล้ว อาการบาดเจ็บทางจิตใจทีเกิดจากความสูญเสียนับเป็นความเจ็บป่วย ทีแม้ไม่มีบาดแผลเห็นชัด แต่เราสามารถสัมผัสได้จากสีหน้า แววตา ของผู้ประสบภัยเรื่องน้ำท่วม  ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้น เริ่มตั้งแต่ก่อนท่วมว่าต้องเตรียมตัวอย่างไร  น้ำท่วมแล้วจะใช้ชีวิตอย่างไรในเรื่องที่อยู่อาศัย ปัญหาเรื่องการเดินทางปัญหาเรื่องงาน   สิ่งเหล่านี้ทำให้  เกิดภาวะโรคเครียดตั้งแต่อาการเจ็บป่วยทางใจและยังเผชิญกับการเจ็บป่วยทางร่างกาย  ไม่ว่า  จะเป็นโรคท้องร่วง   น้ำกัดเท้า  ตาแดงหรือโรคอื่นๆตามมาราวเข้าแถวต่อคิว    เพราะ เมื่อหลายคนเกิดอาการท้อแท้  สิ้นหวัง   ไม่รู้จะใช้ชีวิตต่อไปอย่างไรเพราะตกในสภาพไม่สามารถช่วยตัวเองได้ บางรายอาจเกือบหมดตัวด้วยซ้ำ   แต่ปัญหามิใช่อยู่แค่นั้น  ปัญหาใหญ่จริงๆลงเป็นเรื่องน้ำลด   จะต้องเสียเงิน  ซ่อมแซมบ้านเรือน   นำเงินไปลงทุนในเถือกสวนไร่นา  พนักงานจะตกงานหรือไม่ ในเมื่อนิคมอุตสาหกรรมเสียหาย ถ้านักลงทุนต่างชาติย้ายรากฐานการลงทุนไปประเทศอื่นเพราะรู้สึกไม่ปลอดภัยในการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลไทย  ซึ่งปัญหาก็คือ  เราจะอยู่กับน้ำได้อย่างไรคงไม่ได้หมายความว่าอยู่อย่างยอมจำนนต่อธรรมชาติอย่างเชื่องๆว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ   ประเทศไทยอยู่กับน้ำยิ่งเป็นที่ราบลุ่มภาคกลางและกรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่น้ำท่วมเรื่องน้ำท่วมจึงเป็นเรื่องธรรมชาติเพราะธรรมชาติของน้ำย่อมไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเราจะอยู่กับน้ำได้อย่างไรคงไม่ได้หมายความว่าอยู่อย่างยอมจำนนต่อธรรมชาติอย่างเชื่องๆว่ามันเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่สำหรับประเทศไทยต้องต้องมีหลักการบริหารจัดการหรือควบคุมน้ำอย่างไรด้วยโดยอาจจะผลักดันปัญหานี้ให้เป็นวาระแห่งชาติ
แต่ในเรื่องราวที่ทำให้คนไทยเสียขวัญและกำลังใจยังมีสิ่งดีๆเกิดขึ้นมากมายภายใต้ของคำว่า น้ำใจมวลน้ำจะมหึมามหาศาลขนาดไหนแต่ไม่เคยไหลท่วมน้ำใจและพลังความรักความเห็นอกเห็นใจความช่วยเหลือกันไปได้  เราจึงได้เห็นทั้งภาคเอกชน  ภาครัฐ   สถาบันต่างๆ   ข้าราชการในท้องถิ่นที่ประสบปัญหาร่วมมือกับราษฎรแก้ไขท้องถิ่นตนเอง   สถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ศิลปิน   ดาราหลายคนหลายสังกัดร่วมแรงร่วมใจกันและสิ่งที่สังคมไทยต้องยกย่องคือ  ทหาร  ที่ทำหน้าที่โดยไม่รู้เหน็ดเหนื่อยสมศักดิ์ศรีกับคำว่า...ทหารของประชาชน...
            ช่างภาพของสื่อต่างชาติ จาก เอพี เอเอฟพี และรอยเตอร์ เก็บบรรยากาศน้ำท่วมในประเทศไทย รวมไปถึงเด็กตัวเล็กๆ ที่ต้องเผชิญภาวะวิกฤติ โดยบางรายรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงอันน่าตกใจได้จากผู้ใหญ่รอบตัว แต่ความใสชื่อในบางรายก็สามารถพลิกให้เป็นโอกาสทอง และเล่นสนุกให้หัวใจเบิกบานได้...
         คนไทยจึงต้องช่วยกันพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสเอาพลังความรักความสามัคคี  ความเมตตาที่คนไทยมีคือน้ำใจที่โอบอ้อมอารีชอบช่วยเหลือมาระดมพลังช่วยกันคิดช่วยกันแก้ไขและป้องกันไม่ให้ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นอีก  สิ่งสำคัญ  รัฐบาลต้องเปิดใจกว้างและเห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลักมีหลักการใช้คนที่เหมาะสมกับงานมีนโยบายที่เด่นชัดไม่คลุมเครือโดยศึกษาให้ท่องแท้เพื่อแก้ไขให้ถูกต้องใช่ว่าหลังน้ำท่วมคนจะต้องตกงานอย่างที่กังวลเพราะมีหลายส่วนเสียหายในอัตราการว่างงานจะมีแรงงานเกิดขึ้นมากมายเพราะต้องซ่อมแซมไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน   รถยนต์และโรงงานอุตสาหกรรมเพราะถ้าต่างชาติย้ายรากฐานการผลิตคงต้องใช้เม็ดเงินมหาศาลในการสร้างสิ่งใหม่แต่ถ้าในทางกลับกันรัฐบาลไทยมีการบริหารจัดการเรื่องน้ำที่ชัดเจนร่วมทั้งเรื่องในการช่วยเหลือเยียวยาเพื่อฟื้นฟูหลังน้ำลดในรูปแบบที่บรรดานักลงทุนทั้งในและต่างประเทศยอมรับ  วิกฤตนี้จะกลับกลายเป็นโอกาสได้โดยไม่ยากเย็นเพราะพลังเม็ดเงิน  มหาศาล   แรงงานจะมีงานทำ  ยิ่งมีการจัดการที่เป็นระบบแนวโน้มระบบเศรษฐกิจประเทศไทยอาจจะก้าวไกลกว่าที่คิดใครจะไปรู้เพราะ’’พลังมวลน้ำมหาศาลมิอาจต้านทานพลังน้ำใจของคนไทยตราบใดที่เรายังรักกัน