จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

บทความเรื่อง ปัญหาน้ำท่วมกับคนไทย

  ช่วงนี้เรื่องที่เป็นหัวข้อสนทนาของคนส่วนใหญ่คงไม่พ้นเรื่อง  น้ำท่วม ที่ตามหน้าข่าวหนังสือพิมพ์ วิทยุโทรทัศน์หรือในโลกอินเตอร์เน็ตที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว  การใช้เครือข่ายชุมชนออนไลน์ได้ทะยานสูงขึ้นอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อนในเมืองไทย เนื่องจากคนไทยต้องการรู้ข่าวสารข้อมูล สาเหตุเนื่องจากความสับสนจากข้อมูลเกี่ยวกับภัยวิกฤตน้ำท่วมจากเจ้าหน้าที่รัฐบาล โดยขณะนี้คนไทยต่างโพสต์ถ่ายภาพน้ำท่วมผ่านเว็บไซต์เฟซบุ๊คและอินเตอร์เน็ตกลายเป็นเครื่องมืออัพเดทข่าวสารวิกฤตน้ำท่วมของคนไทยชนิดนาทีต่อนาที  นายจอห์น รัสเซลล์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโซเชี่ยล มีเดีย "The Next Web"บอกว่า ตอนนี้มีคนไทยจำนวนมากได้สร้างบล็อของตัวเองขึ้นมา รวมทั้งใช้เว็บไซต์ทวิตเตอร์ กันอย่างมากมาย โดยอินเตอร์เน็ตกลายเป็นทุกสิ่งอย่างที่สำคัญในช่วงสถานการณ์น้ำท่วมที่รวมรวบข่าวสารจากหลายแหล่งเกี่ยวกับเส้นทางการจราจรและวิธีการแนะนำให้ผู้คนรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วม
            รายงานยังระบุว่าคนไทยได้ใช้ทวิตเตอร์เพิ่มขึ้น20%ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคมที่มีคนใช้ 600,000 คน เป็น 720,000 คน ส่วนเฟซบุ๊คมีผู้เป็นสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 12 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นเป็น 18% ของประชากรทั้งหมด จากช่วงต้นปีที่มีผู้เป็นสมาชิก 7 ล้านคน นอกจากนี้ คำว่า"น้ำท่วม"ยังถูกเสิร์ชค้นหาเป็นจำนวนมากถึง 5 แสนครั้ง ส่วนอันดับสองคือสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 [1]
            สำหรับปัญหาน้ำท่วมในประเทศไทยไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น   แต่โดยแท้จริงแล้วเกิดขึ้นหลายครั้งหลายหนแต่ที่เลวร้ายที่สุดน่าจะเป็นปี น้ำท่วมกรุงเทพฯ พ.ศ. 2485 โดยครั้งนั้น น้ำได้ท่วมตามสถานที่สำคัญต่างๆฯ ในกรุงเทพฯ เช่น สถานีรถไฟหัวลำโพง ถนนเยาวราช อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ภูเขาทอง ถนนราชดำเนิน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รวมถึงพระที่นั่งอนันตสมาคมและ น้ำท่วม พ.ศ. 2538 มีฝนตกในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากพายุหลายลูกพัดผ่าน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา และมีสภาพฝนตกหนักในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม เนื่องจากพายุ “โอลิส” ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูง โดยวัดที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2538 มีค่าระดับสูงถึง 2.27 เมตร (รทก.) ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์(เท่าน้ำท่วมปี พ.ศ. 2485 ) ทำให้น้ำล้นคันป้องกันน้ำท่วมริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าท่วมพื้นที่ริมแม่น้ำในระดับสูงถึง 50 – 100 ซ.ม.[2]
อุทกภัยน้ำท่วมในประเทศไทย พ.ศ. 2554 เป็นอุทกภัยรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างฤดูมรสุมในประเทศไทย พ.ศ. 2554 ผลกระทบหนักที่สุดอยู่ที่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา รวมไปถึงที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง เหตุการณ์กินเวลาตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมและยังคงดำเนินมามากกว่าสองเดือนจนถึงปัจจุบัน จนถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน มีรายงานผู้เสียชีวิตแล้ว 527 ราย สูญหาย 3 ราย และมีผู้ได้รับผลกระทบ 2.9 ล้านครัวเรือน หรือกว่า 9.5 ล้านคนโดยประเมินความเสียหายอยู่ที่ 156,700 ล้านบาท ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม 2.31 แสนล้านบาท
อุทกภัยดังกล่าวทำให้พื้นดินกว่า 150 ล้านไร่ (6 ล้านเฮกตาร์) ซึ่งในจำนวนนี้เป็นทั้งพื้นที่เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมใน 63 จังหวัด 641 อำเภอ ตั้งแต่จังหวัดเชียงใหม่ สุโขทัย ตาก พิษณุโลก กำแพงเพชร ทางภาคเหนือ ไปจนถึง พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี ปทุมธานี นครนายก นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ ปราจีนบุรี กรุงเทพมหานคร ในที่ราบลุ่มภาคกลาง ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ นครราชสีมา ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง
อุทกภัยครั้งนี้ถูกกล่าวขานว่าเป็น "อุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดทั้งในแง่ของปริมาณน้ำและจำนวนผู้ได้รับผลกระทบ"  [3]และครั้งต่อไปที่คาดการณ์กันไว้ว่าน้ำท่วมจะท่วมครั้งใหญ่อีกครั้งปี พ.ศ.2561 น้ำที่เคยเป็นภาระเป็นครั้งคราวที่พอทนทานจึงกลับกลายเป็นวิกฤตของชาติโดยฉับพลันผู้เชี่ยวชาญด้านสภาวะอากาศของซีเอ็นเอ็นสรุปความผันแปรเรื่องน้ำเอาไว้ว่านี่เป็นหนึ่งเงาสะท้อนของภาวะโลกร้อนที่สาเหตุมาจากน้ำมือมนุษย์ด้วยความไม่เคยรู้เท่าทันน้ำที่ทำให้ฝืนธรรมชาติอย่างผิดๆคิดว่าเราสามารถบริหารจัดการน้ำนับหมื่นลูกบาศก์เมตรได้กลายเป็นวิกฤตน้ำที่ส่งผลกระทบมาเป็นวิกฤตของคนไทยและยังเกี่ยวโยงถึงวิกฤตของการบริหารจัดการเรื่องน้ำ[4] น้ำท่วมครั้งนี้ ยังมีคำถามที่หลายคนอยากรู้ก็คือ “จะมีผลกระทบอย่างไรกับเศรษฐกิจสิ่งที่มักจะพบคือเศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง จากความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อชีวิตต่อทรัพย์สิน โดยเฉพาะต่อโครงข่ายการผลิตที่ถูกทำลายไป ยิ่งภัยพิบัติเกิดขึ้นในเขตอุตสาหกรรม กรณีของไทยมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับว่าประชาชนได้รับความเสียหายมากแค่ไหน กรุงเทพฯจะท่วมเป็นบริเวณกว้างและนานหรือไม่ จะมีนิคมอุตสาหกรรมและโรงงานอีกกี่แห่ง ที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมรอบนี้สร้างความเสียหายร้ายแรงอย่างมาก ในอดีตความเสียหายจากน้ำท่วมจะจำกัดอยู่แค่ภาคการเกษตรตลอดจนครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในที่ลุ่มน้ำเป็นสำคัญ แต่ครั้งนี้น้ำท่วมลุกลามไปยังภาคอุตสาหกรรม ทำให้นิคมอุตสาหกรรมสำคัญ ๆของประเทศที่ทยอยกันจมน้ำ และกระทบต่อสถานประกอบการ โรงงานนับหมื่นและแรงงานมากกว่า 6 แสนคน การซ่อมแซมเครื่องจักร โรงงานที่ต้องจมน้ำไป อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่าบางแห่งกว่าจะกลับมาผลิตใหม่ได้ อาจต้องใช้เวลาถึง 3-6 เดือน ทำให้ระหว่างนี้แรงงานจำนวนมากของไทย มีปัญหาขาดรายได้อย่าง กะทันหันเป็นระยะเวลานาน ซ้ำเติมจากการที่บ้านเรือน สินทรัพย์ต้องเสียหายไปและเมื่อน้ำท่วมเข้ามากรุงเทพฯ ความเสียหายต่อสินทรัพย์ธุรกิจ และเศรษฐกิจก็จะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น จากแต่ก่อนที่น้ำท่วมต่างจังหวัด ชาวกรุงเทพฯ บริจาคช่วยเหลือ ตอนนี้ท่วมกันถ้วนหน้าต่างคนต่างต้องดูแลตนเอง เก็บเงินไว้ซ่อมบ้านตนเอง กระบวนการฟื้นฟูก็จะไม่ง่ายเหมือนเดิม           
            ในระยะยาวความเชื่อมั่นของนักลงทุนและนักธุรกิจต่างชาติในไทยหลังจากน้ำท่วมครั้งนี้ ต่อไปจะเกิดปัญหาเช่นนี้อีกไหมในอนาคต”รัฐบาลนอกจากจะ (1) ดูแลช่วยลดความทุกข์ของทุกคนจากน้ำท่วม (2) ออกมาตรการเยียวยาให้ประเทศฟื้นขึ้นมาได้แล้ว (3) จะมีโครงการสำคัญที่จะมาช่วยบริหารจัดการเรื่องน้ำอย่างจริงจัง เพื่อเป็นประกันให้กับทุกคนว่า “จะไม่เกิดน้ำท่วมใหญ่เช่นนี้อีกและรัฐบาลต้องสร้างความเชื่อมั่นให้นักธุรกิจที่มาลงทุนในไทยไม่ให้ย้ายการลงทุนไปประเทศอื่น[5]น้ำท่วมปีนี้จึงเกิดความเสียหายมากมายมหาศาลนับแสนล้านบาท  คนตกงานนับแสนยังไม่รวมความเสียหายต่อทรัพย์สินและความทุกข์ยากทางกายและใจอย่างเหนือคณานับทั้งๆที่นักวิชาการต่างยืนยันว่ามวลน้ำปีนี้มิได้มีมากกว่าปี2538[6]
 ปัญหา น้ำ ท่วม ที่ภัยธรรมชาติทีก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติอย่างใหญ่หลวงทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่ง แวดล้อม ซึ่งภัยธรรมชาติดังกล่าวก็ใช่ว่าจะเกิดจากธรรมชาติเป็นผู้กระทำเองทั้ง ร้อยเปอร์เซ็นต์หากแต่เป็นผลสืบเนื่องมาจากน้ำมือหรือการกระทำของมนุษย์นั่นเอง
          แต่สิ่งสำคัญคือ  "ไม่มีภัยธรรมชาติใดครั้งใดที่จะกลืนกินหรือทำลายชาติไทยเราได้ หากบ้านเมืองเราจะถูกทำลาย นั่นก็เพราะคนในชาติเอารัดเอาเปรียบกันเองดูดายในความเดือดร้อนของพี่น้องของเราเองเพราะจากสถานการณ์ตอนนี้นอกจากโรคติดต่อ และอาการบาดเจ็บทางกายทีเกิดขึ้น ในภาวะน้ำ ท่วมแล้ว อาการบาดเจ็บทางจิตใจทีเกิดจากความสูญเสียนับเป็นความเจ็บป่วย ทีแม้ไม่มีบาดแผลเห็นชัด แต่เราสามารถสัมผัสได้จากสีหน้า แววตา ของผู้ประสบภัยเรื่องน้ำท่วม  ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้น เริ่มตั้งแต่ก่อนท่วมว่าต้องเตรียมตัวอย่างไร  น้ำท่วมแล้วจะใช้ชีวิตอย่างไรในเรื่องที่อยู่อาศัย ปัญหาเรื่องการเดินทางปัญหาเรื่องงาน   สิ่งเหล่านี้ทำให้  เกิดภาวะโรคเครียดตั้งแต่อาการเจ็บป่วยทางใจและยังเผชิญกับการเจ็บป่วยทางร่างกาย  ไม่ว่า  จะเป็นโรคท้องร่วง   น้ำกัดเท้า  ตาแดงหรือโรคอื่นๆตามมาราวเข้าแถวต่อคิว    เพราะ เมื่อหลายคนเกิดอาการท้อแท้  สิ้นหวัง   ไม่รู้จะใช้ชีวิตต่อไปอย่างไรเพราะตกในสภาพไม่สามารถช่วยตัวเองได้ บางรายอาจเกือบหมดตัวด้วยซ้ำ   แต่ปัญหามิใช่อยู่แค่นั้น  ปัญหาใหญ่จริงๆลงเป็นเรื่องน้ำลด   จะต้องเสียเงิน  ซ่อมแซมบ้านเรือน   นำเงินไปลงทุนในเถือกสวนไร่นา  พนักงานจะตกงานหรือไม่ ในเมื่อนิคมอุตสาหกรรมเสียหาย ถ้านักลงทุนต่างชาติย้ายรากฐานการลงทุนไปประเทศอื่นเพราะรู้สึกไม่ปลอดภัยในการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลไทย  ซึ่งปัญหาก็คือ  เราจะอยู่กับน้ำได้อย่างไรคงไม่ได้หมายความว่าอยู่อย่างยอมจำนนต่อธรรมชาติอย่างเชื่องๆว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ   ประเทศไทยอยู่กับน้ำยิ่งเป็นที่ราบลุ่มภาคกลางและกรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่น้ำท่วมเรื่องน้ำท่วมจึงเป็นเรื่องธรรมชาติเพราะธรรมชาติของน้ำย่อมไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเราจะอยู่กับน้ำได้อย่างไรคงไม่ได้หมายความว่าอยู่อย่างยอมจำนนต่อธรรมชาติอย่างเชื่องๆว่ามันเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่สำหรับประเทศไทยต้องต้องมีหลักการบริหารจัดการหรือควบคุมน้ำอย่างไรด้วยโดยอาจจะผลักดันปัญหานี้ให้เป็นวาระแห่งชาติ
แต่ในเรื่องราวที่ทำให้คนไทยเสียขวัญและกำลังใจยังมีสิ่งดีๆเกิดขึ้นมากมายภายใต้ของคำว่า น้ำใจมวลน้ำจะมหึมามหาศาลขนาดไหนแต่ไม่เคยไหลท่วมน้ำใจและพลังความรักความเห็นอกเห็นใจความช่วยเหลือกันไปได้  เราจึงได้เห็นทั้งภาคเอกชน  ภาครัฐ   สถาบันต่างๆ   ข้าราชการในท้องถิ่นที่ประสบปัญหาร่วมมือกับราษฎรแก้ไขท้องถิ่นตนเอง   สถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ศิลปิน   ดาราหลายคนหลายสังกัดร่วมแรงร่วมใจกันและสิ่งที่สังคมไทยต้องยกย่องคือ  ทหาร  ที่ทำหน้าที่โดยไม่รู้เหน็ดเหนื่อยสมศักดิ์ศรีกับคำว่า...ทหารของประชาชน...
            ช่างภาพของสื่อต่างชาติ จาก เอพี เอเอฟพี และรอยเตอร์ เก็บบรรยากาศน้ำท่วมในประเทศไทย รวมไปถึงเด็กตัวเล็กๆ ที่ต้องเผชิญภาวะวิกฤติ โดยบางรายรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงอันน่าตกใจได้จากผู้ใหญ่รอบตัว แต่ความใสชื่อในบางรายก็สามารถพลิกให้เป็นโอกาสทอง และเล่นสนุกให้หัวใจเบิกบานได้...
         คนไทยจึงต้องช่วยกันพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสเอาพลังความรักความสามัคคี  ความเมตตาที่คนไทยมีคือน้ำใจที่โอบอ้อมอารีชอบช่วยเหลือมาระดมพลังช่วยกันคิดช่วยกันแก้ไขและป้องกันไม่ให้ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นอีก  สิ่งสำคัญ  รัฐบาลต้องเปิดใจกว้างและเห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลักมีหลักการใช้คนที่เหมาะสมกับงานมีนโยบายที่เด่นชัดไม่คลุมเครือโดยศึกษาให้ท่องแท้เพื่อแก้ไขให้ถูกต้องใช่ว่าหลังน้ำท่วมคนจะต้องตกงานอย่างที่กังวลเพราะมีหลายส่วนเสียหายในอัตราการว่างงานจะมีแรงงานเกิดขึ้นมากมายเพราะต้องซ่อมแซมไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน   รถยนต์และโรงงานอุตสาหกรรมเพราะถ้าต่างชาติย้ายรากฐานการผลิตคงต้องใช้เม็ดเงินมหาศาลในการสร้างสิ่งใหม่แต่ถ้าในทางกลับกันรัฐบาลไทยมีการบริหารจัดการเรื่องน้ำที่ชัดเจนร่วมทั้งเรื่องในการช่วยเหลือเยียวยาเพื่อฟื้นฟูหลังน้ำลดในรูปแบบที่บรรดานักลงทุนทั้งในและต่างประเทศยอมรับ  วิกฤตนี้จะกลับกลายเป็นโอกาสได้โดยไม่ยากเย็นเพราะพลังเม็ดเงิน  มหาศาล   แรงงานจะมีงานทำ  ยิ่งมีการจัดการที่เป็นระบบแนวโน้มระบบเศรษฐกิจประเทศไทยอาจจะก้าวไกลกว่าที่คิดใครจะไปรู้เพราะ’’พลังมวลน้ำมหาศาลมิอาจต้านทานพลังน้ำใจของคนไทยตราบใดที่เรายังรักกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น