จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สองมาตรฐานการเมืองไทย (double standard)

ความร่วมมืออาเซียน-ไทย

ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง
- อาเซียนมีความร่วมมือเพื่อธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค เช่น การจัดทำปฏิญญากำหนดให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตแห่งสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลาง หรือ Zone of Peace,Freedom and Neutrality (ZOPFAN) ในปี 2514 การจัดทำสนธิสัญญาไมตรี และความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ Treaty of Amity and Cooperation (TAC) ในปี 2519 สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEANWFZ) และการริเริ่มการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ ASEAN Regional Forum (ARF) เพื่อเสริมสร้างความไว้วางใจกันระหว่างประเทศในเอเชียแปซิฟิกซึ่งไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งแรกในปี 2537
- ไทยได้เสนอแนวคิดเรื่อง ASEAN Troika ในช่วงที่ไทยเป็นประธานอาเซียน ปี 2542 ในการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ASEAN Troika ประกอบด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศที่เป็นประธานอาเซียน ประเทศที่เป็นประธานอาเซียน ประเทศที่เป็นประธานก่อนหน้านั้น และประเทศที่จะเป็นประธานต่อไป เพื่อเป็นกลไกในการหารือแก้ไขสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในภูมิภาคโดยไม่ก้าวก่ายกิจการภายในของประเทศสมาชิกดังเช่นต่อมา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 ได้เกิดเหตุการณ์ก่อการร้ายขึ้นในสหรัฐอเมริกา แนวคิดเรื่อง ASEAN Troika กลายเป็นกลไกรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจกระทบต่อประเทศสมาชิกและภูมิภาคทำให้การจัดตั้ง ASEAN Troika ของไทยช่วยปรับปรุงการทำงานของอาเซียนให้คล่องตัวมากขึ้นเพื่อให้อาเซียนได้ร่วมหารือและประสานความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมและทันต่อเหตุการณ์


ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ
อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ฯพณฯ อานันท์ ปันยารชุน ได้เสนอให้จัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ ASEAN Free Trade Area (AFTA) ในปี 2535 เพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกัน อันจะช่วยส่งเสริมการค้าภายในอาเซียนให้มีปริมาณเพิ่มขึ้น ลดต้นทุนการผลิตสินค้าและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ต่อมา อาเซียนได้ขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจเพิ่มเติมเพื่อให้การรวมตัวทางเศรษฐกิจสมบูรณ์แบบและมีทิศทางชัดเจน โดยจัดตั้งเขตลงทุนอาเซียน หรือ ASEAN Investment Area (AIA) ในปี 2541 เพื่อส่งเสริมการลงทุนทั้งภายในและภายนอกภูมิภาค ส่งเสริมการเปิดการค้าเสรี การท่องเที่ยว การเงิน การเกษตร และสนับสนุนการเชื่อมโยงด้านคมนาคมขนส่งโดยไทยได้เสนอให้จัดทำความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดนและข้ามแดน นโยบายของไทยต่อความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ คือผลักดันให้อาเซียนมุ่งปรับโครงสร้างด้านเศรษฐกิจให้มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ สามารถแข่งขันกับนานาประเทศ


ความร่วมมือด้านสังคมและความร่วมมือเฉพาะด้าน
- เป็นความร่วมมือในด้านอื่นที่มิใช่ด้านการเมืองและด้านเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือด้านต่าง ๆ ได้แก่ แรงงาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาธารณสุข วัฒนธรรมและสารสนเทศ การศึกษาการขจัดความยากจน การพัฒนาสตรี เด็กและเยาวชน การพัฒนาชนบท การพัฒนาและส่งเสริมสวัสดิการสังคม การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม และการจัดการด้านภัยพิบัติ เป็นต้น
- ไทยเล็งเห็นความสำคัญของความร่วมมือด้านสังคมเพื่อสันติสุขในภูมิภาค จึงสนับสนุนให้อาเซียนกระชับความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ เช่น การค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ การก่อการร้าย การค้าอาวุธ อาชญากรรมทางเศรษฐกิจและคอมพิวเตอร์ เป็นต้น รวมทั้งให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเป็นกลไก ลดช่องว่างระหว่างประเทศสมาชิกเก่าและใหม่ของอาเซียนซึ่งจะมีส่วนช่วยสนับสนุนการรวมตัวของอาเซียน
-ไทยมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เกิดเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน หรือ ASEAN University Network (AUN) เพื่อเป็นแกนหลักในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของภูมิภาค ขณะเดียวกัน ได้เสนอให้ตั้ง “มูลนิธิอาเซียน” หรือ ASEAN Foundation เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและนักวิชาการตลอดจนการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียน รวมทั้งยังได้สนับสนุนการจัดทำโครงข่ายรองรับทางสังคม หรือ Social safety nets เพื่อบรรเทาผลกระทบทางสังคมจากวิกฤตเศรษฐกิจ
- ปี 2544 ไทยผลักดันให้อาเซียนมีมติรับรองการจัดให้มีปีแห่งการปลูกจิตสำนึกในการต่อต้านยาเสพติดในอาเซียน ระหว่างปี 2545-2546 และสนับสนุนให้มีประชุมยอดอาเซียน ครั้งที่ 7 รับรองปฏิญญาว่าด้วยเชื้อ HIV เนื่องจากไทยสูญเสียทรัพยากรจำนวนมากในการแก้ไขปัญหาเสพติดปัญหาโรคเอดส์และจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือระดับภูมิภาค

ความร่วมมือกับประเทศภายนอกอาเซียน
ไทยมีบทบาทสนับสนุนให้อาเซียนมีความร่วมมือกับประเทศนอกอาเซียน เพื่อเสริมสร้างการเชื่อมโยงกับภูมิภาคอื่นดังปรากฏในรูปของความร่วมมืออาเซียน+3 (ASEAN plus 3) ซึ่งประกอบประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ร่วมกับญี่ปุ่น จีน และสาธารณรัฐเกาหลี รวมทั้งได้ทำการสถาปนาความสัมพันธ์ในลักษณะของประเทศคู่เจรจา ( ASEAN plus 1) กับอีก 9 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย และรัสเซีย และมีความร่วมมือกับหนึ่งกลุ่มประเทศ ได้แก่ สหภาพยุโรป นอกจากนี้ อาเซียนยังมีความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศ คือ โครงการเพื่อการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) มีความสัมพันธ์เฉพาะด้าน (sectoral dialogue) กับปากีสถาน และมีสถานะเป็นผู้สังเกตการณ์ขององค์การสหประชาชาติด้วย

ปฏิรูปการเมืองคืออะไร ทำไมจึงต้องปฏิรูปการเมือง

คำว่า ปฏิรูปการเมือง หมายถึง การผ่าตัดปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจัดองค์กรทางการเมือง (และเศรษฐกิจส้งคม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเมือง) เพื่อทำให้การพัฒนาทางการเมืองมีความเป็นประชาธิปไตยชนิดที่ประชาชนสามารถเข้าไปมีบทบาทได้มากขึ้น เป็นธรรม มีประสิทธิภาพ มีวุฒิภาวะในการที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้งต่างๆได้อย่างสันติวิธี การปฏิรูปการเมืองมีเป้าหมายที่จะทำให้โครงสร้างการจัดองค์กรทางการเมืองแบบใหม่ สามารถมีบทบาทในการพัฒนาประเทศเพื่อประโยชน์สุขของคนส่วนใหญ่ในระยะยาวได้มากกว่าที่แล้วมา ซึ่งเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของคนกลุ่มน้อยในระยะสั้นเท่านั้น


คำว่า “การเมือง” ควรเข้าใจในความหมายกว้างว่า หมายถึง การที่สมาชิกในสังคมต่อรองและตกลงกันในการหาวิธีการจัดการทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เพื่อให้สมาชิกในสังคมได้อยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข ดังนั้น เรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคนในสังคมไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ฯลฯ จึงเป็นเรื่องการเมืองในความหมายกว้างนี้ทั้งสิ้น การเมืองไม่ได้หมายถึงเฉพาะเรื่องการเลือกตั้งผู้แทนระดับต่างๆเท่านั้น

แต่คำว่า ปฏิรูปการเมือง ในทัศนะของนักการเมือง (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) หลายคนมักจะเข้าใจ หรือตั้งใจจะหมายความแต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญบางมาตรา เพื่อปรับปรุงระบบการเลือกตั้งให้มีการแข่งขันกันซื้อเสียงน้อยลง และเป็นประโยชน์แก่พวกเขาในแง่ที่ว่าพวกเขาจะได้ไม่ต้องใช้เงิน ใช้ทองมากเกินไป และหรือจะได้ไม่ต้องพึ่งพา เป็นหนี้บุญคุณ ต้องเอาใจนักธุรกิจ นายทุนที่สนับสนุนพวกเขามากเกินไป

การแก้ไขหรือร่างรัฐธรรมนูญใหม่ อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปทางการเมืองในความหมายกว้างได้ แต่ไม่ได้แปลว่า เมื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่เสร็จแล้ว ก็ถือว่าการปฏิรูปการเมืองจบแล้ว เพราะการร่างรัฐธรรมนูญใหม่นั้น คงจะทำได้ในขอบเขตจำกัด ต้องมีการประนีประนอม ประสานประโยชน์ในหมู่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและสภาผู้แทนราษฎรกันมาก รัฐธรรมนูญจึงคงจะออกมาอย่างที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิกต้องการ คือ แก้ไขในบางประเด็น แต่ไม่ได้ต่างไปจากเดิมมากนัก คือ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างถึงรากถึงโคนอย่างที่ประชาชนผู้มีการศึกษา มีความรู้ต้องการ

นอกจากนี้แล้ว เราต้องไม่ลืมรัฐธรรมนูญเป็นแค่ตัวบทกฎหมายที่คนที่มีอำนาจ (ทั้งทางการเมืองเศรษฐกิจ) มีความรู้ มีการจัดตั้งองค์กรที่ดี สามารถใช้เป็นเครื่องมือให้เป็นประโยชน์แก่พวกตนได้มากกว่าประชาชนส่วนใหญ่ที่มีอำนาจ ความรู้ การจัดตั้งองค์กรน้อยกว่า ดังนั้น รัฐธรรมนูญจึงไม่ใช่ยาวิเศษที่จะแก้โรคทุกอย่างได้ การปฏิรูปการเมืองที่แท้จริงจะต้องมุ่งปฏิรูปที่โครงสร้างทางอำนาจ โครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรมด้วย

สังคมไทยปัจจุบัน ต้องการการปฏิรูปการเมืองก็เพราะระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาในปัจจุบันของไทย มีข้อบกพร่องเนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยากจน การศึกษาและการรับรู้ข่าวสารต่ำ จึงมักนิยมเลือกคนที่เป็นผู้อุปถัมภ์ มีบุญคุณ คนรวยที่มีอำนาจบารมี คนที่พูดเก่ง หาเสียงเก่งเข้าไปเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เข้าไปเป็นรัฐบาลและฝ่ายค้าน โดยหวังจะได้พวกเขาเป็นที่พึ่ง เพื่อแก้ปัญหาส่วนตัว หรือแก้ปัญหาในท้องถิ่นมากกว่ามุ่งเลือกคนที่ไปทำหน้าที่ออกกฏหมาย และบริหารประเทศ โดยที่เมื่อพวกนักหาเสียงเลือกตั้งเก่งเหล่านี้ได้รับเลือกเข้าไปแล้ว ประชาชนก็ไม่มีสิทธิในการควบคุมดูแลถอดถอนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่อย่างแท้จริงได้ ไม่มีสิทธิในการควบคุมดูแลตรวจสอบราชการบริหารประเทศอย่างซื้อสัตย์ และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่ได้ เพราะทั้งรัฐธรรมนูญ ตัวบทกฏหมาย โครงสร้างทางการเมือง การบริหารราชการไม่เปิดช่องให้ และประชาชนก็มีอำนาจต่อรองทางการเมืองน้อยกว่าพวกนักการเมืองและข้าราชการมากมายหลายเท่า

ระบบการเมืองและการบริหารปัจจุบันเป็นระบบที่มีข้อบกพร่องที่สร้างปัญหาความ ขัดแย้งและทำลายตัวเองในระยะยาว ระบบนี้ส่งเสริมให้การพัฒนาการเมืองและเศรษฐกิจผูกขาดอยู่ในมือคนกลุ่มน้อยท ี่ทำเพื่อประโยชน์ตัวเองและพรรคพวกมากกว่าประชาชนส่วนใหญ่และเป็นกลุ่มคนที่ เล่นพรรคเล่นพวก ขาดความรู้ความสามารถ ขาดการมองการณ์ไกลในการบริหารประเทศ ทำให้การกระจายทรัพย์สินและรายได้มีความไม่เป็นธรรมมากขึ้น การพัฒนาเป็นไปอย่างไม่สมดุล ธรรมชาติแวดล้อมถูกทำลาย เกิดปัญหาทางสังคมมากขึ้น

แม้ในบางช่วงพวกเขาจะทำให้เศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศเจริญเติบโตในอัตราสูงได้ แต่เป็นการเติบโตแบบฟองสบู่ที่เกิดจากการลงทุนของต่างชาติ การส่งออกสินค้าที่ใช้ทุน วัตถุดิบจากต่างประเทศมากๆ การเก็งกำไรที่ดิน หุ้น การเติบโตของสินค้า และบริการที่ฟุ่มเฟือย แต่ประชาชนส่วนใหญ่กลับยิ่งเผชิญปัญหาค่าครองชีพสูง มีงานที่ให้ผลตอบแทนต่ำและไม่มั่นคงมีปัญหาด้านสุขภาพ (กายและใจ) และสภาพแวดล้อมเป็นพิษ ปัญหาอาชญากรรม ความเสื่อมโทรมทางสังคม ฯลฯ เพิ่มมากขึ้น ชนิดที่กำลังกลายเป็นวิกฤติการณ์ของสังคมไทยมากขึ้นทุกขณะและอาจจะนำไปสู่หายนะ ความล่มจมทางเศรษฐกิจ ความรุนแรงทางการเมืองและสังคมได้ หากไม่มีการปฏิรูปการเมืองในความหมายกว้าง คือ การปฏิรูปโครงสร้างของเศรษฐกิจ การเมืองสังคมไทยอย่างจริงจัง

นปช.ยังไม่ยุติม็อบรอสุ เทพมอบตัว



กลุ่มคน เสื้อแดง ลั่น ไม่ยุติชุมนุมจนกว่า รองนายกฯ สุเทพ จะเข้ามอบตัว กับ ตำรวจ ข้อหาสั่งฆ่าประชาชน ปัดตั้งแง่ แต่ต้องการทำให้เป็นคดีประวัติศาสตร์

นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง แถลง คนเสื้อแดงยังตอบรับวันเลือกตั้ง 14 พ.ย.และตอบรับวันยุบสภา ระหว่าง 15 - 30 ก.ย.โดยไม่ใเงื่อนไข แต่ไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรมที่เป็น 2 มาตรการ จากรัฐบาลในทุกกรณี ซึ่งหมายถึงการดำเนินคดีความต่างๆ ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานเดียวกัน โดยเฉพาะเหตุการณ์วันที่ 10 เม.ย.ที่มีเจ้าหน้าที่และประชาชนบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก ซึ่งนายกฯ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม โดยแกนนำคนเสื้อแดงพร้อมรับโทษหนัก ซึ่งหากต้องโทษถึงประหารชีวิตเราก็ยินดี แต่ นายกฯ และ นายสุทเพ ก็ต้องรับโทษนี้ด้วยเช่นกัน พร้อมเรียกร้องเจ้าหน้าที่ตำรวจออกหมายเรียก นายสุเทพ ในข้อหาสั่งฆ่าประชาชนด้วย ดังนั้นหากวันใดที่ นายสุเทพ เข้ามอบตัวกับตำรวจ ในข้อหาสั่งฆ่าประชาชน คนเสื้อแดงจะยุติการชุมนุม และจะเดินทางกลับบ้านโดยทันที

ขณะเดียวกัน ยังเรียกร้องให้ นายกฯ เปิดสถานีโทรทัศน์ พีเพิลแชนแนล ด้วย ทั้งนี้ ยืนยัน นี่ไม่ใช่การตั้งแง่แต่จะเป็นคดีประวัติศาสตร์ทางการเมืองไทย เพื่อเป็นเครื่องเยียวยาทุกชีวิตของวีรชนที่จากไป เพราะที่ผ่านมา ที่มีคดีนองเลือด ผู้มีอำนาจมักไม่ได้รับโทษตามกฎหมาย นอกจากนี้คนเสื้อแดงได้จะมีการจัดทำแผนปรองดองขึ้นมาอีก 1 ชุด ด้วย